วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

........แนวโน้มวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาในอนาคตดูแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือจะเน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก แทนการเน้นตัวผู้สอนที่สอนนักศึกษาจำนวนมากพร้อมกันทั้งห้อง ซึ่งเป็นวิธีที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณสองศตวรรษก่อน วิธีการเรียนในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้จะเป็นการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์โดยเน้นให้นักศึกษาค้นพบด้วยตัวเอง (Learning by Discovery) เป็นการศึกษาที่นักศึกษาจะเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้เองต่อไปได้อย่างไร (Learning How to Learn) ที่เป็นดังนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานมัลติมีเดียจะทำให้เราสามารถกลับไปใช้ระบบที่อาจารย์ทำหน้าที่สำคัญในการสอน และชี้นำนักศึกษาเป็นรายบุคคล คอมพิวเตอร์จะช่วยให้อาจารย์ไม่ต้องทำงานซ้ำๆกันในการสอนกิจกรรม  อย่างง่าย และสามารถใช้เวลามากขึ้นกับนักศึกษาที่ต้องการความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ การศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี (Technology Aided Education) มีข้อได้เปรียบหลายประการคือ
........การเรียนรู้เป็นแบบโต้ตอบกัน
........นักศึกษาจะเรียนรู้ได้ในอัตราความเร็วที่เหมาะสมกับตนเอง
........การเรียนรู้จะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ โดยผ่านระบบการเรียนทางไกล (Distance Learning) ที่ต่อโยงผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียไปยังศูนย์การศึกษา
........อุปกรณ์ประกอบการเรียนจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น เพราะจะมีทั้งอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง และการต่อโยงของเนื้อหาในแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถถามถึงสิ่งที่ตนสนใจต่อโยงกันไปได้เรื่อยๆโดยไม่ถูกจำกัดให้เห็นเฉพาะส่วนที่กำหนดไว้
........วิธีการเรียนรู้เช่นนี้จะมีใช้ในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งระดับการฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้ วิธีการสอนเช่นนี้ก็ทำให้สามารถรวมเนื้อหาของวิชาที่เกี่ยวเนื่องกัน (Content Integration) ให้สามารถสอนไปพร้อมกันเช่น สามารถสอนเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ วิชาการเงิน และวิชาจริยธรรม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกันไปพร้อมกัน แทนที่จะต้องสอนแยกกันเป็น 3 วิชา ซึ่งจะทำให้เข้าใจยาก เช่น การประยุกต์ใช้งานเนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานด้านการเงิน เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีหลายกรณีที่สามารถทำการทดสอบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังศูนย์การศึกษา ซึ่งสะดวกต่อการวัดผลการเรียน และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของการศึกษาในระบบการสอบด้วยคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computerbased Uniform Testing) นักศึกษาที่เรียนรู้ได้ช้าก็สามารถเรียนต่อเนื่องไปได้โดยใช้เวลามากขึ้นขณะที่นักเรียนที่เรียนรู้ได้เร็ว ก็สามารถก้าวหน้าไปได้เร็วขึ้น แทนที่จะต้องรอขึ้นชั้นใหม่พร้อมกันทุกคน การสอบก็สามารถทำได้เมื่อนักศึกษาพร้อมที่จะสอบ โดยตัวข้อสอบจะถูกสร้างขึ้นใหม่สำหรับนักศึกษาแต่ละคน เป็นการตัดปัญหาการทุจริตหลายอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในห้องสอบ
........สำหรับปัจจุบันตามสถาบันการศึกษาต่างก็มีนโยบายที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยทำในรูปแบบของ E-Learning ซึ่งมีการนำเอาโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา เช่น Moodle หรือ Scorm เป็นต้น และการเรียนรู้แบบนี้ยังช่วยในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน คือ
........1. ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นอยากจะเรียนมากขึ้นเพราะใช้สี่อที่ทันสมัย
........2. ทำให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงคิดเห็น กล้าที่จะพูดมากยิ่งขึ้น
........3. ทำให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ได้
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอไว้ 2 ยุคดังนี้
1. ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอมักจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิดคือ
1.1 เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector) การใช้งานค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจาก ต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมา แล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะและต้องนำ ฟิล์มมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงนำมาเข้าเครื่องฉาย ได้ ข้อดี การฉายสไลด์จะได้ภาพที่สวยงาม และ ชัดเจน ข้อเสีย ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด
1.2 เครื่องฉายแผ่นใส (Overhead projector) 00 เป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่าแผ่นใสที่ใช้ ตามปกติจะมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว และมี สองแบบคือ แบบที่ใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบ ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร
2. ยุคคอมพิวเตอร์ เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน) เครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลักที่ใช้ก็คือ
2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
2.2 เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector)
2.3 เครื่องฉายภาพ 3 มิติ สรุปแนวคิดการออกแบบสื่อนำเสนอข้อมูล
หนึ่งความคิดต่อหนึ่งสไลด์
ไม่นำแนวคิดหลายแนวมาใส่ในสไลด์เดียว
ในแต่ละสไลด์ ควรมีหัวเรื่องประกอบ
เนื้อหาในแต่ละสไลด์ ไม่ควรเกิน 7 – 8 บรรทัด
เลือกใช้สีตัวอักษร สีภาพ และสีพื้นสไลด์ที่เหมาะสม
ข้อความภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ผสมตัวพิมพ์เล็ก
จัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสม
ตรวจสอบเนื้อหามีความถูกต้อง
เลือกใช้ Effect ที่เหมาะสมกับผู้ชม ผู้ฟัง
หลีกเลี่ยงการใช้สีแดง เขียว หรือเทา
ไม่ควรเลือก Effect มากกว่า 3 ลักษณะในแต่ละสไลด์
ภาพที่นำมาใช้ประกอบ ควรเป็นแนวนอนจะเหมาะสมกว่าแนวตั้ง
เตรียมสื่อไว้หลากหลายรูปแบบ
ควรระบุที่มาของเอกสารอ้างอิงให้ชัดเจน แบบทดสอบท้ายบท
การเตรียมการนำเสนอ
........การนำเสนอไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตามถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมก็จะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้งานหรือไม่เป็นไปดังที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ฉะนั้นผู้นำเสนอควรจะต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะนำเสนอทุกครั้ง มีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาข้อมูล ผู้นำเสนอต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ คือ ศึกษาเรื่องที่จะนำเสนอ ศึกษาวิเคราะห์ผู้รับฟัง ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย ศึกษาโอกาส เวลาและสถานที่ที่จะนำเสนอ
2. วางแผนการนำเสนอ ผู้นำเสนอควรวางแผนที่จะนำเสนอ คือ วางรูปแบบวิธีการนำเสนอว่าต้องการนำเสนอแบบเป็นทางการ หรือแบบไม่เป็นทางการ วางแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรค วางโครงการนำเสนอ เป็นต้น
3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การบรรยายเพียงอย่างเดียวอาจไม่ดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง ควรมีอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบการนำเสนอ ที่นิยมใช้กัน คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการบรรยาย เช่น เครื่องฉายแผ่นใส วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง แผ่นใส เป็นต้น และอุปกรณ์ที่ใช้เสริมการบรรยาย เช่นแผ่นพับ หนังสือ รูปภาพ เอกสารประกอบ เป็นต้น
4. เตรียมความพร้อมของสถานที่ การนำเสนอควรตระเตรียมความพร้อมของสถานที คือ จัดห้องสำหรับการนำเสนอ ควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ฟังปัจจัยที่จะทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ
........การนำเสนอจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็จะขึ้นอยู่กับวิธีการจัดดำเนินการในการนำเสนอ ปัจจัยที่ทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. เนื้อหาข้อมูล โดยการจัดข้อมูลอย่างเป็นระบบ จัดทำเค้าโครงการนำเสนอ และข้อมูลต้องมีความสมบูรณ์ถูกต้อง
2. ผู้นำเสนอ ความมีความรู้ในเรื่องที่นำเสนอ ศึกษาวิเคราะห์ผู้ฟัง มีบุคลิกภาพการวางตัวที่เหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นต้น
3. การดำเนินการนำเสนอ ควรคำนึงถึงเทคนิคและวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม ใช้อุปกรณ์ช่วยในการนำเสนอ รวมถึงการมีศิลปะในการนำเสนอ เป็นต้น
http://forum.datatan.net/index.php/topic,126.0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น